shutterstock

My latest images for sale at Shutterstock:

My most popular images for sale at Shutterstock:

21 กันยายน 2553

แก๊สกับเครื่องเทอร์โบ และหม้อต้มเทอร์โบ

ไม่ทราบแหล่งที่มา(คัดลอกมาแล้วจำไม่ได้ ต้องขอโทษเจ้าของบทความด้วยครับ)
ผมขอคุยในฐานะที่พอจะคุ้นเคยกับเครื่องเทอร์โบมากก่อนเรื่องแก๊ส เคยติดเทอร์โบเข้ากับเครื่องเดิมๆ ทั้งคาร์บิวหรือหัวฉีด รวมทั้งเปลี่ยนเทอร์โบลูกโต ในแวดวงที่ผมคุ้นเคยมาก่อน และเมื่อมาเข้าในวงการแก๊ส ก็เจอเรื่องการติดแก๊สกับเครื่องยนต์เทอร์โบ
ขอย้อนเริ่มต้นไปที่ระบบเทอร์โบ คือ การอัดอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ให้มากกว่าการประจุด้วยแรงดูดของลูกสูบ
ซึ่งยังไงก็ไม่มีทางได้ปริมาตรเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ของความจุในกระบอกสูบแน่ๆ เทอร์โบเป็นการอัดอากาศด้วยการใช้ต้นกำลังจากไอเสีย เพื่อให้ได้กำลังเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเพิ่มซีซี เทอร์โบมีกังหัน 2 ใบ หันหลังชนกัน ไม่มีห้องอากาศเชื่อมกัน แต่มีแกนเดียวกัน
แกนนั้นหล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่อง แกนร้อนไม่น้อย เพราะมีการถ่ายเทความร้อนจากกังหันไอเสียและโข่งไอเสีย เทอร์โบ รับไอเสียจากกระบอกสูบ มาปั่นกังหันไอเสีย แล้วไหลออกจากโข่งต่อเข้าท่อไอเสีย ทิ้งไปนอกรถ แกนก็หมุนตามการขับเคลื่อนของกังหันไอดี
กังหันไอดีหมุนตาม คอยดูดและอัดอากาศ จะด้วยแรงดันเท่าไร ก็แล้วแต่ประสิทธิภาพของตัวเทอร์โบ และการตั้งเวสต์เกต
บูสต์มากแรงมาก ไส้ในต้องทน บูสต์น้อย แรงน้อย ไส้ในต้องทนพอประมาณ
เครื่องที่มีเทอร์โบ ควรจะมีการเพิ่มความหนาของเอ/เอฟเรโช อัตราส่วนผสมของอากาศ ตอนมีบูสต์ให้หนากว่าปกติ เพื่อลดความร้อน และไม่ให้เขก ในการขับปกติ ไม่บูสต์เอ/เอฟ แถวๆ 14.5 ต่อ 1 (อากาศ/เชื้อเพลิง air/fuel) เครื่องไม่มีเทอร์โบ กดคันเร่งหนัก ลดเอเอฟเหลือ แถวๆ 13 ต่อ 1 แต่เครื่องเทอร์โบควรแถวๆ 11-12 ต่อ 1 ถ้าบางกว่านี้ เสียวเขกครับ (ผมเรียกเขก ไม่เรียกน็อก เพราะกลัวจะสับสน) เครื่องเทอร์โบ โรงงาน มักจะมีการเพิ่มการจ่ายเชื้อเพลิง เมื่อเริ่มมีบูสต์ให้หนาขึ้นและไล่ตามความหนักของบูสต์
โดยช่วงต่อระหว่างมีบูสต์ จะเหมือนมีขั้นบันไดการเพิ่มเชื้อเพลิง เมื่อไม่มีบูสต์ ก็ลดการจ่ายเชื้อเพลิงลง ช่วงต่อระหว่างไม่มีบูสต์กับเริ่มบูสต์ ถือเป็นขั้นบันไดสำคัญ และค่อยเพิ่มการจ่ายเชื้อเพลิงไล่ขึ้นไป การติดเทอร์โบเพิ่ม หรือการเปลี่ยนเทอร์โบ รวมถึงการเพิ่มบูสต์ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิง ไม่ให้บาง หรือหนาเกินไป ซึ่งคุมหรือเซ็ตยากกว่าเครื่องเอนเอ ที่ดูดอากาศปกติ ไม่มีบูสต์ เพราะมี 2 ช่วงที่ต้องเซ็ตเชื้อเพลิง นอกจากนั้นยังต้องมีไส้ในของเครื่องที่แข็งแรง หรือบูสต์ไม่สูงเกินความแข็งแรงของเครื่อง

วกเข้ามาถึงเรื่องแก๊สกับเครื่องเทอร์โบ
มีหลายคนอยากติดหรือติดไปแล้ว หลายคนคิดว่าไม่ยาก เพราะเหมือนๆ ติดแก๊สเข้ากับเครื่องหายใจเอง ในความเป็นจริง
การติดแก๊สเข้ากับเครื่องเทอร์โบ ผมว่ายากครับ ถ้าจะให้ไม่พัง และเนียน ไม่ใช่เน้นหนาไว้ก่อน ผมเรียกว่า เป็นการเซ็ตระบบจ่ายเชื้อเพลิงใหม่ ตั้งแต่เดินเบาไปจรดทุกรอบทุกภาระที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์ ถ้าเป็นเครื่องหัวฉีด ก็เหมือนโยนกล่องอีซียู ไม่มีแม็บเลย
มาให้โปรแกรมนั่นแหละครับ ถ้าเป็นเครื่องคาร์บิว ก็ต้องมีนมหนูเข่งนึง หลอดผสมอีกเข่งนึง ถ้าเครื่องหายใจเอง หนาไปบางไป ไม่พังครับ เครื่องเทอร์โบ บางไป พังครับ ร่องแหวนแตก ปะเก็นแตก ลูกสูบแตกแน่ หนาไปก็ไม่ดี แต่ไม่พังง่ายแบบบางไป
ผมเน้นครับ การติดแก๊สเข้ากับเครื่องเทอร์โบ คือ การเปลี่ยนระบบเชื้อเพลิงและต้องเซ็ตปริมาณการจ่ายใหม่ทั้งหมด
ผมยังนึกถึงตอนติดเทอร์โบกับเครื่องหัวฉีดหรือคาร์บิวที่ไม่เคยมีเทอร์โบมาก่อน เมื่อ 20 ปีที่แล้ว หืดขึ้นคอทุกเครื่องครับ กว่าจะเนียน
ก็ไม่ต่างจากเครื่องเทอร์โบ ที่ยกเลิกการใช้น้ำมัน แต่มาใช้แก๊ส ผมว่า นั่นคือ การเริ่มใหม่ในระบบเชื้อเพลิง ดีแค่ เครื่องมีเทอร์โบแปะมาให้แล้วเท่านั้น เมื่อไรที่รับทำรถเทอร์โบ ให้ใส่แก๊ส ผมเกร็งและเน้นเสมอ ไม่เคยคิดว่าหมู ไม่ใช่แค่ขยับปรับๆ สองสามทีเท่านั้น
ผมอยากจะบอกความยากของการทำแกสกับเครื่องเทอร์โบว่าไม่หมู ถ้าใครว่าหมู ให้นึกถึงว่า งั้นถ้าให้เอาเครื่องไม่มีเทอร์โบ
หาเทอร์โบมาให้ร้านท่อไอเสียแปะเข้าไป แล้วให้คุณจูนระบบเชื้อเพลิงหัวฉีด หรือคาร์บิว ให้จ่ายได้พอและเนียน
คุณจะว่าหมูอีกไหม เอาซีวิค เอาแจ๊ส เอาโคโรลล่า ให้คุณติดเทอร์โบบูสต์ แล้วเบาๆ เอาไหม ได้ไหม เอาให้เนียนนะ ง่ายไหม

วงเข้ามาถึงการติดตั้งตำแหน่งมิกเซอร์ และหม้อต้มครับ เทอร์โบ กับการติดตั้งระบบจ่ายเชื้อเพลิง (ผมไม่ได้บอกว่าแก๊ส) มี 2 แบบหลัก คือ 1.แบบเทอร์โบดูด 2. เทอร์โบอัด


++ เทอร์โบดูด
คือ การดูดเชื้อเพลิงจากด้านหน้ากังหันไอเสีย เช่น เอาคาร์บูไว้หน้า เอามิกเซอร์ไว้หน้า ตลอดที่เครื่องทำงาน ตัวที่ทำหน้าที่จ่ายเชื้อเพลิงจะถูกดูดเสมอ วิธีนี้ หลังจากอากาศผสมเชื้อเพลิงและอัดผ่านโข่งไอดี ควรมีระยะทางสั้นที่สุดก่อนเข้าลิ้นปีกผีเสื้อ
ที่สำคัญ ไม่ต้องมีอินเตอร์คูลเลอร์ครับ เพราะช่องเล็กๆ ในอินเตอร์ ไม่ชอบอากาศผสมเชื้อเพลิงครับ อาจบึ้ม หรือเกาะข้างใน จนส่วนผสมไอดีเพี้ยนได้ ที่สำคัญ คือ อินเตอร์ ฯ มีไว้ระบายความร้อนอากาศ ให้มีมวลหนาแน่นขึ้น ไม่ได้ต้องลดความร้อนไอดีที่ผสมแล้ว เทอร์โบดูด อาจใช้หม้อต้มธรรมดาที่มีอัตราการจ่ายสูงๆ ได้ ผมใช้คำว่า อาจนะครับ

++ เทอร์โบ อัด
คือ การจ่ายเชื้อเพลิงหลังการอัดของเทอร์โบ ตอนเทอร์โบ ยังไม่บูสต์ การจ่ายเชื้อเพลิงจะพ่นไปในแรงดูดหรอือไม่มีแรงดันสวน
เมื่อมีบูสต์ การจ่ายเชือ้เพลิงออกไป จะต้องเจออากาศที่มีแรงดัน ดังนั้นระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ต้องมีการปรับปริมาณหรือแรงดันให้สู้กับบูสต์ได้ ไม่งั้นฉีดไม่ออก จ่ายไม่ออก หรือจ่ายได้น้อย เพราะต้องพ่นไปในห้องที่อากาศมีแรงดัน นี่คือระบบหัวฉีดเทอร์โบที่คุ้นเคยกัน
เข้าเรื่องก่อนจบ ว่า การเอาหม้อต้มธรรมดาที่ไม่มีท่อต่อเอาบูสต์ไปเป็นซิกแนล ไม่มีซิกแนลดันไดอะแฟรม เพื่อเพิ่มการจ่ายแก๊ส
ต่อการจ่ายแกสเข้ามิกเซอร์ ที่ไว้หน้าเทอร์โบ ทำเป็นแบบเทอร์โบดูดครับ ระบบนี้ไม่ควรมีอินเตอร์คูลเลอร์ (แต่ส่วนใหญ่กลับใส่ไว้อยู่ตามเดิม) เพราะมีแล้วมีแต่เสียกับเสีย ไมได้ช่วยอะไรเมื่อใช้แก๊สเลย อีกทั้งถ้าแบคไฟร์ก็อาจจะหลุดทั้งยวง !!!! ควรทำท่อสั้นที่สุด
แต่เมื่อใช้เบนซิน จะอัดหนักไม่ได้ เพราะจะกลับเป็นระบบเทอร์โบอัดที่ไม่มีการระบายความร้อนของอากาศ อาจจะเขกได้ง่าย

อีกแบบ ที่ดีกว่า คือ ใช้หม้อต้มเทอร์โบ ใส่มิกเซอร์หน้าลิ้นตามปกติ อยู่หลังเทอร์โบ เป็นระบบเทอร์โบอัด ตอนเดินเบาและขับปกติ
จ่ายแก๊สเข้าไปแล้วไม่เจอแรงดัน แต่พอมีบูสต์ๆ ซึ่งต่อท่อไปยังห้องไดอะแฟรมที่หม้อ หม้อปรับการจ่าย ทั้งเตจ 1 ก็เพิ่มแรงดัน
สเตจ 2 ก็เพิ่มการจ่าย แก๊สที่จะเข้ามิกเซอร์ ก็มีแรงดันมากพอจะพ่นสู้กับบูสต์ นี่คือวิธีที่ถูกต้อง

แต่วิธีที่ไม่ถูกต้องนักที่พบคือ ตอนเป็นหัวฉีด ใช้ระบบเทอร์โบอัด ซึ่งควรมีอินเตอร์คูลระบายความร้อนอากาศก่อน
แต่พอใช้แก๊ส กลายเป็นระบบเทอร์โบดูด ซึ่งไม่ควรมีอินเตอร์คูล และควรมีท่อสั้น (แต่ดันมี เพราะเสียดายไม่อยากถอดออก)
การให้หม้อธรรมดา แม้มีการจ่ายสูง แต่ถ้าไม่มีระบบซิกแนลไปบอกหม้อต้มว่ามีบุสต์แล้วให้จ่ายแก๊สเพิ่ม ผมว่าไม่ถูกต้องนักครับ
ใครสงสัยระบบซิกแนลแบบกลไกที่จะเพิ่มการจ่ายเชื้อเพลิงเมื่อมีบูสต์ ลองไปดูปั้มโซล่าของเครื่องดีเซลเทอร์โบรุ่นเก่าดูครับ ว่ามีห้องไดอะแฟรม คอยรับบูสต์เทอร์โบ ส่วนปั้มของเครื่องดีเซลธรรมดา ไม่มีห้องรับบูสต์ครับ และใครที่จะลองเอามิกเซอร์ไว้หน้าลิ้น แต่หลังอินเตอร์ เป็นระบบเทอร์โบอัด ถ้าหม้อต้มไม่มีห้องรับบูสต์ไปดันไดอะแฟรมและไม่มีการทำมาโดยเฉพาะ อย่าลองครับ เสียเวลาเปล่า เพราะแค่เริ่มมีบูสต์ แก๊สก็ถูกดันย้อยนเข้าหม้อแล้วครับ

ใครที่เข้ามา กรุณาอย่ารีบบอกว่า ก็เขาทำกันทั่วไป ไม่เห็นมีอะไรกับหม้อต้มธรรมดา ใส่มิกเซอร์หน้าเทอร์โบ ยังมีอินเตอร์คูลเลอร์ ใช้งานได้ดีปกติ ช่วยเอาหลักการแบบสากลมาคุยด้วยครับว่า ในโลกนี้ นอกจากคนไทยที่ทำแก๊ส มีใครไหมที่ทำระบบเทอร์โบดูด (เชื้อเพลิง) แล้วใส่อินเตอร์คูลเลอร์ นอกจากนั้น มีใครจะรู้ไหมว่า ถ้าทำระบบเทอร์โบดูด ควรใช้ซีลด้านโข่งไอดีแบบแมคคานิคัลเฟซซีล ไม่ใช่พิสตันริงซีลแบบที่ใช้กันทั่วไป หม้อเทอร์โบ มีหลายยี่ห้อในโลก ดูง่ายๆ ครับ ต้องมีท่อต่อรับบูสต์ (แบบไม่ได้เจาะเองนะครับ) ไม่ใช่มีแค่สตาร์แก๊สเท่านั้น ความจริงเรื่องยาวกว่านี้ แต่วันนนี้ให้ความรู้เท่านี้ละกันครับ


+++++++++++++