ข้อมูลจาก...บริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
DIY คุณก็ทำได้ ตอน : EFI ..ภัยเงียบ..เจ้าปัญหา !?
อ๊ะ..อ๊ะ..อย่าเพิ่งตกอกตกใจว่าระบบหัวฉีดอิเล็กทรอน ิกส์ก้าวหน้า ที่เรารู้จักกันมานานปีว่า EFI มันจะเป็นพิษเป็นภัย แต่ก็อย่าไว้ใจเมื่ออายุการใช้งานนานปีขึ้น สายอ่อนขาดใน ฝุ่นผงที่สะสม และขั้วสายหรือปลั๊กที่ไม่แน่นและสกปรก หรือแม้กระทั่งความชื้นสะสม สิ่งเหล่านี้ควรใส่ใจด้วย DIY ฉบับนี้ของเรา จะขอนำท่านเข้าไปสู่วิธีการดูแลรักษาในแบบสบาย ๆ ด้วย…Liquid Wrench...อย่างง่ายๆที่คุณ...ก็ทำได้...
EFI Basic
ก่อนอื่นใด ผมขอนำทุกท่านย้อนกลับไปยัง "พื้นฐาน" ง่าย ๆ ของระบบ Electronic Fuel Injection ที่นักรถยนต์ (ที่มิใช่แค่คนขับ) อย่างเราควรทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งก็ไม่ยุ่งยากหรอกครับ
อายเขาแย่...หากขับรถ "หัวฉีด EFI" แล้วไม่ยักเข้าใจว่าเจ้าระบบนี้มันมีดีและง่ายดายอยู ่ตรงไหนบ้าง
เดิมทีนั้น เราใช้คาร์บูเรเตอร์ในการจ่ายน้ำมัน/อากาศที่ผสมกันในอัตราส่วนอากาศ 14-15 ส่วน/เชื้อเพลิง 1 ส่วน (โดยน้ำหนัก) ให้ลองนึกภาพของอณูของอากาศ 14-15 อณู ที่ห้อมล้อมอณูเชื้อเพลิงเพียง 1 อณูดูสิครับ (เหมือนดาวล้อมเดือนเลยนะ) ซึ่งที่จริงนั้น หากคาร์บูเรเตอร์แบบ
เดิม ๆ มันสามารถ "ชง" ส่วนผสม 14/1 ไปได้เรื่อย ๆ อย่างแม่นยำในทุกระดับการเร่งแล้วละก็ เราคงไม่ต้องง้อ EFI ให้ยุ่งยากจริงไหมครับ แต่มันมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อเราเร่งเครื่องยนต์ครั้งใดความแม่นยำของอั ตราส่วนผสมที่ว่านั้น มันก็คลาดเคลื่อนไปซะทุกที และบ่อยครั้งที่อัตราส่วนดังกล่าวต้องผิดเพี้ยนไปถึง 17-20/1 ด้วยซ้ำไป เมื่อการเผาไหม้ไม่คงที่ ก็เกิดผลเสียโดยตรงแก่มลภาวะอากาศ อันมีผลโดยตรงต่อพิษภัยที่เหลือค้างทั้ง คาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนอกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเผาไหม้ไม่หมด แถมยังสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง และด้อยประสิทธิภาพด้านพละกำลังไปพร้อม ๆ กัน เหล่านี้คือ ผลร้ายจากคาบูเรเตอร์แบบเก่า และการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์นักของมัน
วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์จึงออกแบบระบบ EFI ดังนั้น เพื่อใช้เป็นกระสุนสำคัญเพียงนัดเดียวที่ยิงนกได้ถึง 3 ตัวคือ 1. ควบคุมปริมาณของก๊าซไอเสีย 2. ประหยัดเชื้อเพลิง และ 3. จ่ายเชื้อเพลิงให้เพียงพอและเหมาะสมตามสภาพการขับที่ ต่างกัน ซึ่งหัวฉีด EFI คือเป้าหมายใหญ่ที่ถูกนำมาใช้ไงครับ...ที่จริงมันก็ค ือเรื่องเก่าที่ผมนำมาเล่าใหม่เพื่อมิให้ท่าน...ตกเบ สิก...ไปเท่านั้นเองครับ
มองให้ลึกลงไปนิดในประสิทธิภาพของ EFI ก็คงต้องเริ่มตั้งแต่เมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ สัญญาณจากไดสตาร์ทจะกำหนดให้ "หัวฉีดสตาร์ทเย็น" เพิ่มปริมาณการฉีดในตอนเริ่มสตาร์ทเครื่อง เพื่อให้เพียงพอต่อการสตาร์ทครั้งแรก
เมื่อเครื่องยนต์ติดท่ามกลางอุณหภูมิที่ต่ำ เทอร์มิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ตรวจวัดอุณหภูมิของน้ำหล่อ เย็นก็จะเปลี่ยนความร้อนเป็นค่าความต้านทานที่แปลงเป ็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังกล่อง ECU จากนั้นไอดีก็จะถูกปรับให้เหมาะสมมากขึ้นๆ
เมื่อเร่งเครื่อง กล่อง CPU ก็จะประมวลผล และปรับแรงดันของระบบฉีดเชื้อเพลิงสูงขึ้น ตามค่าการเปลี่ยนแปลงที่มากขึ้นของปริมาตรไอดี ซึ่งนี่คือ การเริ่มต้นขบวนการของระบบหัวฉีด EFI ยิ่งเร่งเร็วขึ้นๆ เซ็นเซอร์ที่ตำแหน่งลิ้นเร่งก็จะทำองศาเพิ่มขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดสัญญาณไฟฟ้าไปยังกล่อง ECU ที่จะประมวลและปรับให้ปริมาณการฉีดจ่ายเชื้อเพลิงและ อากาศมากขึ้นไปด้วย เพื่อคงไว้ปริมาตรอากาศและน้ำมันให้เพียงพอเหมาะสมต่ อการใช้งาน
ผลที่เห็นได้ชัดก็คือ EFI ทำให้การจ่ายส่วนผสมของไอดี (น้ำมัน/อากาศ) ให้แต่ละสูบด้วยปริมาณที่เท่ากัน มันจึงลดมลภาวะ และเพิ่มสมรรถนะให้เครื่องยนต์ EFI ยังสามารถปรับส่วนผสมของไอดีได้ตลอดเวลา EFI ยังตัดการจ่ายน้ำมันทันทีขณะลดความเร็ว และ EFI มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของลิ้นเร่ง (Butterfly throttle)
EFI มี 3 ส่วนประกอบง่ายๆ จำให้แม่น
เมื่อทราบถึงที่มาและการทำงานของมันแล้ว ตอนนี้เราก็ "ลึก" ลงไปอีกนิดนะครับ รับรองไม่เปลืองหน่วยความจำของคุณผู้เป็น "นักรถยนต์" หรอกครับ
ระบบ EFIประกอบด้วย 3 ส่วนง่าย ๆ ที่เราจะใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ไขยามเมื่อเกิดปัญหา อาทิ สตาร์ทยาก ควรตรวจตราดูแลซ่อมแซมตรงไหน สตาร์ทแล้วเดินไม่เรียบ หรือเครื่องยนต์ไม่มีแรงควรดูแลตรงไหน หรือวิ่งๆ ไปก็กระตุกกระตักน่ารำคาญ ควรตรวจตราตรงไหน เหมือนเดิมครับ "นักรถยนต์" เช่นเราควรรู้เอาไว้กำชับช่าง เพื่อมิให้เขาพาเข้ารกเข้าป่าไปแบบผม ซึ่งครั้งหนึ่งนั้นต้องจ่ายเงินไปตั้งมากมายเพียงแค่ กราวนด์ของคอยล์จุดระเบิดยึดไม่แน่น ซึ่งรถต้องจอดอู่อยู่เป็นอาทิตย์ๆ เพื่อให้ช่าง Wiring สายไฟกล่อง ECU ให้ใหม่ แต่กลับไม่หาย แถมยังต้องเปลี่ยนกล่อง ECU แทนของเก่าอีกกล่อง ก็ยังไม่หาย งานนี้ทั้งเสียเงินและเสียเวลาไปตั้งมากมาย เพียงเพราะทั้งผมและช่าง (สมัยนั้น) ยังไม่เข้าใจพื้นฐานง่ายๆ ของมันเท่านั้นเอง
ระบบ EFI ที่ไหนๆ ก็ประกอบด้วย 3 ส่วนง่ายๆ ดังนี้
1. ระบบเชื้อเพลิง (Fuel system) เกี่ยวกับระบบการสั่งจ่ายเชื้อเพลิงทั้งหมด
2. ระบบประจุอากาศ (Air induction system) เกี่ยวกับระบบอากาศทั้งหมด
3.ระบบควบคุม ECU (Electronics control unit) เกี่ยวกับระบบควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
คราวนี้เมื่อเราทราบถึง "สามทหารเสือ" นี้แล้ว ก็จะสามารถแก้ไขหรือวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดได้ตรงจุดแ ละง่ายขึ้นใช่ไหมครับ
เป็นที่น่าปวดใจด้วยว่า...ช่างไทย...ส่วนหนึ่ง (ซึ่งไม่น้อยเหมือนกัน) มักจะวิสัชนาแต่ระบบเก่าๆ แล้วเอามาวิเคราะห์แก้ไขปัญหา EFI ฉะนั้นการเข้าหารือหรือปรึกษาอาการก่อนซ่อมแซม "นักรถยนต์" จึงควรจะมองหาอู่ที่มี...ช่างอิเล็กทรอนิกส์...ประจำ อู่จะดีที่สุดครับ ส่วนอู่ที่โบราณหรือถนัดแต่เครื่องกลก็อาจตกเบสิกนี้ ดังนั้นจึงเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยได้นั่นก็คือ เจ้าของรถในระดับ "นักรถยนต์" อย่างเราควรเข้าใจถึงพื้นฐานและสามารถวิเคราะห์โดย.. .พื้นฐานสามทหารเสือ...นี่ละครับ
ระบบเชื้อเพลิงกระกอบด้วย
1. ถังเชื้อเพลิง Tank
2. ปั๊มส่งเชื้อเพลิง Pump
3. กรองเชื้อเพลิง Filter
4. หัวฉีดสตาร์ท Cold start
5. ตัวควบคุมแรงดันเชื้อเพลิง Pressure regulator
6. หัวฉีด Injection
ระบบประจุอากาศประกอบด้วย
1. กรองอากาศ Air filter
2. มิเตอร์วัดการไหลของอากาศ Airflow meter
3. เรือนลิ้นเร่ง/ห้องประจุอากาศ Throtle body
4. ท่อร่วมไอดี
ระบบอิเล็กทรอนิกส์คอนโทรลประกอบด้วย Sensors หลักสำคัญๆ อาทิ
1. เซ็นเซอร์ควบคุมเวลาสตาร์ทเย็น
2. เซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
3. เซ็นเซอร์อุณหภูมิอากาศ
4. เซ็นเซอร์ตำแหน่งลิ้นเร่ง
5. ออกซิเจนเซ็นเซอร์
6. เซ็นเซอร์วัดปริมาตรอากาศ/ตรวจจับการไหลของอากาศ Map sensor
เพียงแค่เราเข้าใจใน 15-20 อุปกรณ์ง่ายๆ เหล่านี้ได้บ้าง ก็จะช่วยให้เราวิเคราะห์ถึงปัญหาของระบบ EFI ทำให้คุณสามารถ DIY ได้แล้วละครับ เพราะระบบ EFI ก็คืออิเล็กทรอนิกส์ง่ายๆ ที่มีอายุการใช้งาน และต้องการการดูแลรักษาเหมือนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ นั่นละครับ (กรุณาอย่าไปคิดว่ามันไฮเทควิเศษวิโสเกินหม้อหุงข้าว ไฟฟ้านัก)
LIQUID WRENCH…เครื่องมือง่ายๆที่...คุณก็ทำได้...
งงไหมล่ะ เมื่อแปลอังกฤษตามความหมายของคำว่า LIQUID WRENCH เป็น "ไขควงเหลว" มันมีที่ไหนกัน ต่อให้เดินหาตาม "คลองถม" หรือร้านเครื่องมือสักร้อยรอบเพื่อซื้อหาไขควงเหลวแบ บนี้มาซ่อมรถ ก็ไม่เห็นมีใครขายให้สักอัน แล้วมันคืออะไร!?
ง่ายมากครับ เพราะ "ไขควงเหลว" ที่ว่านี้ก็คือ "แสลง" ที่มาจากสเปรย์กระป๋องทำความสะอาดสารพัดประโยชน์ ที่ช่างฝรั่งเขาใช้เรียกบรรดาสเปรย์ที่สามารถซอกซอนเ ข้าไปได้ในหลืบลึกของเครื่องยนต์ซึ่ง Tools ธรรมดาอาจจะเข้าไปไม่ถึงนั่นเองครับ
เมื่อ DIY ในตอนนี้เน้นไปที่ EFI ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้า และเพื่อจำกัดวงความเข้าใจของ "นักรถยนต์" ไว้ตรงนี้ ผมจึงขอกล่าวว่าสเปรย์ที่ควรใช้ ควรจะเป็นสเปรย์ที่ทำความสะอาดวงจรไฟฟ้าจำพวกสเปรย์ PHILIPS กระป๋องฟ้าหรือแดง ที่สามารถหาซื้อได้ตามแผนกเครื่องไฟฟ้าในห้างสรรพสิน ค้า จะดีที่สุดต่อการชะล้างหรือแก้ปัญหา EFI ได้ง่ายๆ
ปัญหาส่วนมากของระบบ EFI มักจะเกิดขึ้นตาม Sensors ต่างๆ ที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ควบคุมระบบ เราจึงควรมีวิธีระมัดระวังรักษา และแก้ปัญหาง่ายๆ เหล่านี้ ได้ด้วยการ...DIY...ด้วย LIQUID WRENCH ซึ่งจะขอเน้นไปที่ระบบเชื่อมต่อ PLUG-IN ของ ECU ซึ่งประกอบด้วย หัวต่อหรือแจ็คสายไฟต่างๆ ของระบบ EFI ที่ทุกท่านสามารถป้องกัน และเข้าถึงได้ง่ายๆ ในยามเกิดปัญหา เริ่มต้นง่าย ๆ ด้วยการสเปรย์ลงไปตรงตำแหน่งของ PLUG-IN ของ SENSORS หลักๆดังต่อไปนี้ครับ
แต่การจะเข้าไปดูแลรักษา ควรเริ่มที่การค้นหาตำแหน่งของเซ็นเซอร์ต่าง ๆ ซึ่งหากในสมุดคู่ประจำรถมิได้ระบุไว้ ก็สามารถถามช่างที่ให้บริการหรือผจก.ศูนย์ได้ ส่วนจะให้เขาตรวจเช็คความแน่นและความสะอาดให้เลยหรือ ไม่นั้น ก็เชิญตามสบายครับ (ถือว่าซื้อความรู้)
การทราบตำแหน่งแห่งหนของเซ็นเซอร์ต่างๆ ยิ่งมากก็จะช่วยให้เราสามารถ DIY ปลั๊กหรือสเปรย์ได้ด้วยตัวเราเอง (อย่างน้อยก็ควรใส่ใจกับ 6 SENSORS หลักๆ ไว้บ้างก็ยังดีครับ) เพราะเมื่อทุกปลั๊กแน่น หรือทุกเซ็นเซอร์สะอาด ไม่หลวม ไม่สกปรกและไร้ความชื้น ก็จะมีความหมายโดยตรงต่ออายุการใช้งานที่ยาวนานและแม ่นยำกว่า ด้วยการสเปรย์หรือ LIQUID WRENCH ง่ายๆ พร้อมคีมปลายแหลมเล็กๆ เพื่อบีบกระชับขั้วสาย, ปลั๊ก และเซ็นเซอร์ต่างๆ ตามตำแหน่งดังต่อไปนี้ครับ อาจไม่ต้องลงมือกับทุกเซ็นเซอร์ แต่ยิ่งมากยิ่งดีครับ เราอาจเริ่มต้นที่ปลั๊กหรือเซ็นเซอร์ที่พบเห็นได้ง่า ยๆ ก่อน จากนั้นค่อยขยับค้นหาไปเรื่อยๆ ตามตำแหน่งที่ผมระบุเป็นตัวอย่างไว้ใน DIY ฉบับนี้